วันพุธที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

การศึกษาความเป็นไปได้ของระบบรับประกันสินค้า

การศึกษาปัญหาของระบบ

จากการศึกษาปัญหาของระบบรับประกันสินค้าด้านไอทีพบว่ามีปัญหาดังนี้


  1. เกิดความไม่สะดวกในการตรวจสอบและสอบถามข้อมูลของสินค้า ที่เข้ารับบริการ ไม่ว่าจะเดินทางมาสอบถามด้วยตนเอง หรือโทรศัพท์เข้ามาสอบถาม เนื่องจากระบบค้นหาเป็นระบบปิดไม่สามารถให้ผู้บริโภคตรวจสอบด้วยตนเองได้ และในบางช่วงเวลามีผู้บริโภคเข้ามาใช้บริการเป็นจำนวนมาก ซึ่งการสอบถามบริการสินค้าสามารถกระทำโดยการสอบถามจากพนักงานด้านหน้าเคาน์เตอร์เท่านั้น ซึ่งในบางช่วงเวลา พนักงานไม่สามารถให้บริการได้อย่างทั่วถึง ทำให้ผู้บริโภคบางท่านที่ต้องการความรวดเร็ว ไม่ได้รับบริการ

การเสนอแนวทางแก้ไข

แนวทางที่ 1

  1. ปรับปรุงระบบรับประกันสินค้าด้านไอทีให้สามารถตรวจสอบข้อมูลสินค้าได้ผ่านทางโทรศัพท์มือถือ โดยใช้ sms หรืออาจจะเป็น wap เพื่อความสะดวกรวดเร็วของผู้บริโภคที่ไม่ต้องการเดินทางมาสอบถามด้วยตนเองโดยใช้ภาษา PHP ในการพัฒนาระบบ และใช้ MySQL เป็น Server
  2. สามารถสมัครบริการรับข่าวสารได้ด้วยการส่ง sms ผ่านระบบโทรศัพท์มือถือแต่ผู้บริโภคต้องยื่นคำร้องขอรับบริการ

แนวทางที่ 2

  1. ปรับปรุงระบบรับประกันสินค้าด้านไอทีให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบข้อมูลสินค้าได้ด้วยตนเองผ่านระบบ Internet โดยใช้ระบบสมาชิก และเลขรหัสสินค้าที่เข้ารับบริการในการตรวจสอบโดยใช้ภาษา PHP ในการพัฒนาระบบ และใช้ MySQL เป็น Server
  2. ระบบจะส่งอีเมล์เมื่อใกล้ถึงกำหนดการรับสินค้าคืน เพื่อเป็นการแจ้งเตือนผู้บริโภค รวมไปถึงระบบร้องขอให้ส่งสินค้าในทางไปรษณีย์
  3. ในอนาคตสามารถพัฒนาระบบเพื่อให้สามารถติดต่อขอใช้บริการได้ที่ เคาร์เตอร์เซอร์วิส ทุกแห่งในประเทศ – ต่างประเทศ

แนวทางที่ 3

  1. ทำระบบสอบถามเป็นระบบตอบรับอัตโนมัติคล้ายๆระบบขอรหัสผ่านในบัตรเครดิต โดยใช้โทรศัพท์ และการกรอกรหัส
  2. เพิ่มจำนวนคู่สายสัญญาณเพื่อเพิ่มอัตตราการให้บริการและใช้ภาษา PHP ในการพัฒนาระบบ และใช้ MySQL เป็น Server

ประเมินแนวทางที่เสนอ

ความเหมาะสมในด้านเทคโนโลยี (Technically Feasible)

แนวทางที่ 1

  • ปัจจัยต่างๆด้านเทคโนโลยีมีพร้อมในระบบรับประกันสินค้าด้านไอทีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

แนวทางที่ 2

  • ปัจจัยต่างๆด้านเทคโนโลยีมีพร้อมในระบบรับประกันสินค้าด้านไอทีเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

แนวทางที่ 3

  • ปัจจัยต่างๆด้านเทคโนโลยีมีไม่พร้อมในระบบรับประกันสินค้าด้านไอที

ความเหมาะสมทางด้านการปฏิบัติ (Operational Feasibility)

แนวทางที่ 1

  • สามารถทำได้สะดวก ติดตั้งได้ง่าย เป็นที่ยอมรับ แต่อาจไม่สะดวกในการที่ผู้บริโภคมีการร้องขอในการใช้บริการมาก ระบบสามารถทำเป็นแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ

แนวทางที่ 2

  • สามารถทำได้สะดวก ติดตั้งได้ง่าย เป็นที่ยอมรับ ไม่ต้องการการดูแลรักษามาก ระบบสามารถทำเป็นแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ

แนวทางที่ 3

  • สามารถทำได้สะดวก ติดตั้งได้ง่าย เป็นที่ยอมรับ แต่ต้องพัฒนาโปรแกรมทางด้านเสียงเพื่อใช้งานโดยเฉพาะ
ความเหมาะสมทางด้านการลงทุน (Economic Feasibility)



ประเมินค่าใช้จ่ายเนื้อหาสำหรับแนวทางต่างๆ


้่
วิเคราะห์มูลค่าปัจจุบัน
แนวทางที่ 1



แนวทางที่ 2



แนวทางที่ 3



วิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน

  • แนวทางที่ 1 ระยะเวลาคืนทุน 5 ปี
  • แนวทางที่ 2 ระยะเวลาคืนทุน 4 ปี
  • แนวทางที่ 3 ระยะเวลาคืนทุน 5 ปี

แนวทางที่เหมาะสมที่สุด

เนื่องจากแนวทางทั้ง 3 แบบ เป็นแนวทางที่เหมาะสมทั้งทางด้านเทคโนโลยี ด้านการปฏิบัติ และด้านการลงทุน แต่เมื่อพิจารณาด้านการใช้งานแล้วแนวทางที่ 1 มีข้อจำกัดด้านปริมาณ การดูแลรักษา มากเกินไป รวมทั้งยังเป็นระบบที่จะต้องคิดค่าบริการดังนั้นจึงอาจไม่เป็นที่นิยมนัก ส่วนแนวทางที่ 3 มีข้อจำกัดด้านซอฟต์แวร์ซึ่งจะต้องพัฒนาขึ้นใหม่จึงมีค่าใช้จ่ายที่สูงอีกทั้งยังอาจจะเสื่อมความนิยมไม่ทันต่อเทคโนโลยี ดังนั้น แนวทางที่ 2 จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด ในทุกๆด้าน ทั้งความทันสมัย การดูแลรักษา ระบบการจัดเก็บข้อมูล และระบบค้นหา สำหรับการแก้ปัญหาระบบรับประกันสินค้าด้านไอที